วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559

ตำหนิพระซุ้มกอ

ตำหนิ การสังเกตุพระซุ้มกอ
1. พระเกศเป็นเกศปลี ปลายแหลมสอบเข้า
2. พระเนตรรี ลอยอยู่ในเบ้า
3. พระนาสิกเป็นแท่งแหลม พระโอษฐ์เล็ก
4. พระกรรณโค้งเป็นแบบหูบายศรีเบาๆ
5. ยอดองค์ใต้คอเป็นแอ่งกระทะเบาๆ
6. กนกข้างแขนขวาองค์พระเป็นเลข 6 ฝรั่ง
7. สังฆาฏิเป็นลำเล็ก
8. ซอกแขนลึก
9. ชายจีวรยาวเข้าไปซอกแขน
10. พระหัตถ์ขวากระดกขึ้นเล็กน้อย

ลักษณะของพระซุ้มกอ

พระซุ้มกอที่ได้รับความนิยมมีทั้งหมด 4 พิมพ์คือ
     พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่มีกนก
     พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ไม่มีกนก
     พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง
     พระซุ้มกอ พิมพ์ขนมเปี๊ยะ

เนื้อของพระกำแพงซุ้มกอมีดังนี้
     เนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เป็นเนื้อที่ได้รับความนิยมสูงสุด
     เนื้อว่าน แบ่งเป็นเนื้อว่านล้วน ๆ และเนื้อว่านหน้าทองคำ เนื้อว่านหน้าเงิน
     เนื้อชินเงิน

เนื้อว่านและเนื้อชินเงิน ปัจจุบันหาพบยาก
     พิมพ์ใหญ่มีลายกนก เป็นพิมพ์ที่พบเห็นแพร่หลาย เป็นพระปางสมาธิ บนฐานบัว มีซุ้มลายกนกรอบองค์พระ เป็นพระดินเผา ผสมว่านและเกสรดอกไม้ ตามผิวจะมีจุดแดง ๆ เรียกว่า แร่ดอกมะขาม ซึ่งเป็นวัตถุธาตุตะกูลเหล็กไหล จุดดำเรียกรารัก จับกระจายเป็นหย่อม ๆ

     พิมพ์ใหญ่ไมมีลายกนก คือพระซุ้มกอดำ เป็นเนื้อที่หายากมาก ราคาแพง พบที่กรุวัดบรมธาตุ, วัดพิกลุล, และกรุนาตาคำ

     พิมพ์กลาง มีลักษณะใกล้เคียงกับพิมพ์ใหญ่ลายกนก เพียงแต่บางและตื้นกว่า หายากครับ

     พิมพ์ขนมเปี๊ยะ ความจริงก็เป็นพิมพ์ต่าง ๆ นั่นเอง เพียงแต่ไม่ได้ตัดขอบมนออก จึงดูคล้ายขนมเปี๊ยะ

     *ส่วนพิมพ์อื่น ๆ ไม่ขอพูดถึง เพราะหาชมได้ยากมาก
การค้นพบพระกำแพงซุ้มกอ

     เมื่อ พ.ศ.2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์โต วัดระฆัง ได้ไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบศิลาจากรึกที่วัดเสด็จ จึงทราบว่ามีพระเจดีย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ฝั่งเมืองนครชุมเก่า ท่านจึงชักชวนเจ้าเมืองออกสรวจ ก็พบเจดีย์ 3 องค์ อยู่ใกล้ ๆ กัน แต่ชำรุดมาก จึงได้ชักชวนเจ้าเมืองทำการรื้อพระเจดียเก่าทั้ง 3 องค์ รวมเป็นองค์เดียวกัน เมื่อรื้อถอนจึงพบพระเครื่องซุ้มกอจำนวมาก หลวงปู่จึงนำเข้ากรุงเทพ ฯ ส่วนหน่งพร้อมเศษอิฐหิน และบรรทึกใบลาน แล้วนำมาสร้างพระสมเด็จของท่านจนขึ้นชื่อลือกระฉ่อน เพราะสร้างตามสูตรการสร้างพระซุ้มกอ ส่วนการสร้างเจด์ยังไม่ทันแล้วเสร็จ เจ้าเมืองก็ด่วนลาลับ ต่อมาพระยาตะก่า ขุนนางพม่า จึงปฏิสังขรณ์ต่อ จนเสร็จ จึงมีรูปลักษ์เป็นเจดีย์พม่า

     พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระศิลปะสุโขทัยยุคต้น สร้างประมาณ พ.ศ.1900 สมัยพญาลิไท ขุดค้นพบหลายกรุ โดยครั้งแรกพบ ณ วัดพระบรมธาตุ โดยหลวงปู่โต ต่อมา พ.ศ.2490, และ 2501 ก็พบอีก แต่ไม่มาก ปี 2505 และ 2509 พบจากกรุวัดพิกุลทอง, วัดฤาษี วัดหนองลังกา และวัดซุ้มกอ
พระซุ้มกอ พิมพ์มีกนก

     ขุดค้นพบบริเวณฝั่งตะวันตกของลำแม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบริเวณทุ่งกว้างที่มีชื่อว่า " ลานทุ่งเศรษฐี " หรือโบราณเรียกว่า " เมืองนครชุมเก่า " บริเวณลานทุ่งเศรษฐีอันกว้างใหญ่นี้ ปรากฎซากโบราณสถานอยู่มากมาย เป็นชื่อวัดนับสิบกว่าวัดด้วยกัน พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก ขุดพบที่กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดพิกุล หรือหนองพิกุล กรุฤาษี กรุตาพุ่ม กรุนาตาคำ กรุลานดอกไม้ กรุวัดหนองลังกา และเจดีย์กลางทุ่ง

     ส่วนพระนามของพระซุ้มกอนั้น เป็นเอกลักษณ์ของซุ้มประภามณฑล ที่ครอบเศยรองค์พระ เป็นซุ้มโค้งงอเหมือน ก ไก่ เลยเรียกติดปากมาตั้งแต่โบราณว่า " พระซุ้มกอ "

     พระกำแพงซุ้มกอ สันนิษฐานว่า จะสร้างในสมัย พระมหาธรรมราชาลิไท แห่งสุโขทัย พระพุทธศิลปะขององค์พระจะสง่างาม มีความล้ำสัน นั่งขัดสมาธิราบอยู่บนบัลลังก์บัวเล็บช้าง ภายใต้ซุ้มเรือนกนก

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก
     เป็นพระที่ขุดพบมีจำนวนค่อนข้างน้อย เนื้อดินเผา เป็นพระที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่เหมือนพระเครื่องดินเผาทั่วไป เป็นพระดินเผาที่มีเนื้อค่อนข้างนิ่ม ละเอียด ไม่มีเม็ดกรวดเจือปน เนื้อขององค์พระจะดูค่อนข้างจะเปื่อยและยุ่ยง่าย เหมือนพระดินดิบ คือเหมือนพระที่ไม่ผ่านการเผามา มีว่านดอกมะขามสีแดงปรากฎให้เห็นทั่วองค์พระ


คัดลอกบทความมาจาก http://www.zabzaa.com/

พระที่มีราคาแพงที่สุด

คงไม่พ้นอับดับหนึ่งของเราคือพรพ สมเด็จ วัดระฆังพิมพ์ใหญ่ประทาน ถ้าองค์แชมป์ก็หลายล้านบาท เป็นยอดปรารถนา ของทุกคน ในหมู่นักนิยมพระเครื่อง ในเมืองไทย ยิ่งราคาสูงมาก ก็ยิ่งมีปลอมมีเก๊มากมาย จึงเป็นการยากที่จะวิเคาระห์ว่าจริงหรือเก๊ แต่ก็พอมีหลักสังเกตุอยู่ทั้งความเก่า เนื้อ มวลสาร และแหล่งที่มาเป็นส่วนประกอบ อีกอย่างคืกต้องขึ้นอยู่กับบุญวาสนาด้วย
ส่วนอันดับรองลงมาก็ลดมากน้อยไม่ห่างกันตามเบญจ๓าคีในเมืองไทยเรา

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

ตำหนิ พระเบญจภาคี พระรอดมหาวัน


ตำหนิ พระรอดมหาวัน
1.  ให้สังเกตุรอยยับย่นบนเนื้อพระ ไม่ด้านหน้าก็ด้านหลัง เนื่องจากพระมีอายุหลักพันปีขึ้น
2.  เส้นน้ำตกจะเริ่มจากใต้ข้อศอกซ้าย พาดผ่านไปจนถึงกลางหน้าแข้งซ้าย และจะแตกออกเป็น 2 เส้นคม ๆ
3.  ปลายยอดขององค์พระส่วนใหญ่จะมีลักษณะเนื้อพับมาทางด้านหน้า
4.  ปลายน่องซ้ายจะแตกเป็นปากตะขาบคม ๆ เล็กน้อย พอเห็น


แยกกลุ่มโพธิ์ให้ได้มี 6 กลุ่มโดยมีก้านโพธิ์กั้น
ผนังซ้ายมือขององค์พระมีเส้นพิมพ์แตกลากจากพระกรรณยาวลงมาถึงโพธิ์ข้างหัวไหล่
ปลายพระกรรณเป็นขอเบ็ด
สะดือเป็นหลุมคล้ายเบ้าขนมครก
มีเส้นน้ำตกลากผ่านหน้าตักจนถึงชั้นฐาน
มีฐาน 4 ชั้น
หัวแม่มือขวากางอ้าปลายตัด
ใบโพธิ์กลางชุดที่ 2 เป็นโพธิ์ติ่ง
ใบโพธิ์จะตั้งเป็นสันนูนขึ้นมาคล้ายทรงพีระมิด
เนื้อละเอียดมากด้านหลังเป็นลอยคล้ายลายนิ้วมือ
ก้นมีสองชนิดคือก้นเรียบและก้นแมลง สาบ (ก้นพับ)

พระสมเด็จ วัดระฆัง

ประวัติการสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)


         การสร้างพระเครื่องไว้ เพื่อสืบทอดพระพุทธ ศาสนานั้น ได้มีมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวปีพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ ต่อมาท่านโบราณจารย์ผู้เชี่ยวชาญฉลาดได้ประดิษฐ์คิดสร้างพระเครื่อง ด้วยรูปแบบต่างๆนานาตามแต่จะเห็นว่างาม นอกจากนั้นแล้งยังได้บรรจุพระ พุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ตลอดจนพระปริตรและหัวใจพระพุทธมนต์อีกมากมายหลายแบบด้วยกัน และการสร้างพระเครื่องนั้น นิยมสร้างให้มีจำนวนครบ ๘๔,๐๐๐ องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์อีกด้วย

         ดังนั้น ในชมพูทวีปและแม้แต่ประเทศไทยเราเอง ปรากฏว่ามีพระเครื่องอย่างมากมาย เพราะท่านพุทธศาสนิกชนได้สร้างสืบต่อกันมาทุกยุคทุกสมัย และในบรรดาพระเครื่องจำนวน มากด้วยกันแล้ว ท่านยกย่องให้พระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี ซึ่งสร้างโดยท่านเจ้าประคุณพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) เป็นยอดแห่งพระเครื่อง และได้รับถวายสมญานามว่าเป็น ราชาแห่งพระเครื่อง อีกด้วย

         ปฐมเหตุซึ่งพระสมเด็จ ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม ได้รับการยกย่องเช่นนั้น อาจจะเป็นด้วยรูปแบบของ พระสมเด็จ  เป็นพระเครื่ององค์แรกซึ่งสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอย่างทรงเลขาคณิต ส่วนองค์พระและฐานนั้นเล่า ท่านได้จำลองแบบ และย่อมาจากองค์พระประธาน จากพระอุโบสถเพียงองค์เดียวเท่านั้น ปราศจากอัครสาวกซ้ายขวา องค์พระจึงดูโดดเด่นอย่างเป็นเอกรงค์ สำหรับซุ้มเรือนแก้วอันเป็นปริมณฑลนั้นเล่า ท่านได้จำลองแบบอย่างมาจากครอบแก้ว (ครอบแก้วพระพุทธรูป) และถึงจะเป็นรูปแบบอย่างง่ายๆ ปราศจากส่วนตกแต่งแต่อย่างใดเลย ก็ตามทีต้องยอมรับว่าเป็นความงามที่ลงตัวอย่างหาที่ติมิได้เลย

         นอกจากรูปแบบอันงดงามของพระสมเด็จ ดังกล่าวแล้ว ศรัทธาและความเลื่อมใสของนักสะสมพระเครื่อง อันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว คงจะมาจากคุณวิเศษอันเป็นมหัศจรรย์ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) ผู้ประติมากรรมพระสมเด็จเป็นอันดับสอง

         ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )วัดระฆังโฆสิตาราม ผู้เป็นอมตเถระ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) วัดระฆังโฆสิตาราม  บางกอกน้อย ธนบุรี นามเดิมว่า โต ได้รับฉายา พฺรหฺมรํสี ถือกำเนิดตอนเช้าตรู่ ของวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑ จุลศักราช ๑๑๕๐ ในรัชกาลที่ ๑ บ้านไก่จ้น ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มารดาชื่อ เกศ เป็นชาวบ้าน ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

         นอกจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะได้สร้างปูชนียวัตถุแล้ว มีเรื่องเล่าว่า ครั้งเมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ขึ้นไปเยี่ยมญาติที่จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้ของกรุงสุโขทัย และเป็นเมืองที่ร่ำรวยด้วยโบราณวัตถุทางพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นอีกเมืองหนึ่ง ที่มีพระเครื่องซึ่งงดงามไปด้วยพุทธศิลปะ อันบริสุทธิ์ของชาวไทยเราอีกด้วย และโดยเฉพาะที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านมีความรู้และแตกฉานทางอักษรโบราณ ท่านจึงสามารถอ่านศิลาจารึกที่ว่าด้วยกรรมวิธีการสร้างพระเครื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างพระพิมพ์ด้วยเนื้อผงขาว ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า เนื้อพระสมเด็จ โดยมีเนื้อหลักเป็นปูนขาว (ปูนหิน) หรือปูนเปลือกหอย ผสมผสานด้วยวัตถุมงคลอาถรรพณ์อื่นๆ และมีผงวิเศษซึ่งสำเร็จจากการลบสูตรสนธิ์จากคัมภีร์ทางพุทธาคม เมื่อนำเอามาบดตำกรองจนดีแล้ว จึงนำเอาวัตถุมงคลและอาถรรพ์ต่างๆเหล่านั้นมาผสมผสานกับดินสอพอง (ดินขาว) แล้วปั้นเป็นแท่งตากให้แห้งแล้วจึงนำเอามาเขียนอักขระเลขยันต์ตามคัมภีร์ บังคับบนกระดานโหราศาสตร์ซึ่งทำจากต้นมะละกอ เสร็จแล้วจึงลบเอาผงมาสร้างเป็นพระสมเด็จ ที่เรียกว่าผงวิเศษ หรือผงพุทธคุณนั่นเอง

         นอกจากนั้นแล้วยังสันนิษฐานกันว่า ท่านยังเอาข้าวก้นบาตร และอาหารหวานคาวที่ท่านฉันอยู่ถ้า
คำไหนอร่อยท่านจะไม่ฉัน จะคายออกมาแล้วตากให้แห้งเพื่อนำไปบดตำสร้างพระสมเด็จของท่าน ซึ่งถูกต้องตามวิธีการสร้างพระอาหารของชาวรามัญ

         ส่วนตัวประสาน หรือตัวยึดเกาะนั้น ที่เราทราบๆ กันอย่างเด่นชัดก็คือ น้ำมันตังอิ๊ว น้ำอ้อย น้ำผึ้ง กล้วย และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เยื่อกระดาษ ได้จากการที่เอากระดาษฟางหรือกระดาษสามาแช่น้ำข้ามวันข้ามคืน จนกระดาษละลายเป็นเมือกดีแล้ว จึงนำเอามากรองเพื่อเอาเยื่อกระดาษมาผสมผสานบดตำลงไป เชื่อกันว่าตัวเยื่อกระดาษนี้ เป็นตัวหนึ่งที่ทำให้พระสมเด็จวัดระฆัง มี ความหนึกนุ่ม เนื้อจึงไม่แห้งและกระด้าง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนผสมที่เป็นประเภทพืช เช่น ข้าว อาหาร กล้วย อ้อย เป็นต้น ก็มีส่วนที่ทำให้เนื้อพระมีความหนึกนุ่มอีกเช่นกัน

         สำหรับในด้านแม่พิมพ์พระสมเด็จ วัดระฆัง โฆสิตารามนั้น ถ้าได้พิจารณากันอย่างถ่องแท้แล้วจักเป็นรูปแบบที่เรียบง่าย คือเค้าโครงภายนอกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทรงเลขาคณิต เป็นการออกแบบที่ทวนกระแสความคิดสร้างสรรค์ ของคนโบราณอย่างสิ้นเชิง อาจจะพูดได้ว่า เป็นการออกแบบที่เป็นศิลปะของตนเอง อย่างบริสุทธิ์ หาได้อยู่ภายใต้ของศิลปะพระเครื่องสกุลอื่นใดไม่ ทั้งๆที่การสร้างพระพิมพ์หรือพระเครื่องได้มีมาแต่ครั้งสมัยคันธารราษฎร์ (อินเดีย) มากกว่า ๒,๐๐๐ ปีล่วงมาแล้ว

         ในด้านองค์พระคงจะได้แนวคิดและแบบอย่างมาจากพระประธานในพระอุโบสถ ซึ่งส่วนมากจักประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี เฉพาะซุ้มเรือนแก้วนั้นคงจักได้แนวคิดมาจากครอบแก้ว ซึ่งเพิ่งจะมีครอบแก้วครอบพระบูชาประจำวัด ประจำบ้าน เพื่อเป็นการอนุรักษ์ไม่ให้ผิวทองหมองประการหนึ่ง และเพื่อเป็นการป้องกันฝุ่นละอองที่มีคละคลุ้งในอากาศอีกด้วย เป็นที่เชื่อกันว่า ผู้ที่แกะแม่พิมพ์ถวายท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯนั้น น่าจะเป็นฝีมือช่างสิบหมู่หรือฝีมือช่างหลวงนั่นเอง

พระสมเด็จ วัดระฆังโฆ สิตารามในท่านเจ้าประคุณ สมเด็จฯนั้น เป็นเป็นพระที่สร้างแบบค่อยเป็นค่อยไป ตามแต่โอกาสและเวลาจะอำนวย หาได้สร้างเป็นครั้งเดียวไม่ ที่เชื่ออย่างนี้เพราะพระแต่ละพิมพ์ของท่าน เนื้อหา ตลอดจนมวลสารนั้นมีอ่อนแก่กว่ากัน ละเอียดบ้าง หยาบบ้าง สีสันวรรณะก็เป็น เช่น เดียวกันทั้งสิ้น เมื่อท่านสร้างพระแต่ละพิมพ์แต่ละคราวเสร็จแล้ว ท่านจะบรรจุลงในบาตร นอกจากท่านจะบริกรรมปลุกเสกด้วยตัวท่านจงดีแล้ว ยังนิมนต์ให้พระเณรปลุกเสกอีกด้วย เมื่อท่านออกไปบิณฑบาตท่านก็จะเอาติดตัวไป ญาติโยมที่ใส่บาตรท่าน ท่านจะแจกพระให้คนละองค์ และมักจะพูดว่า เก็บเอาไว้ให้ดีนะจ๊ะ ต่อไปจะหายาก โดยไม่บรรยายสรรพคุณให้ทราบแต่อย่างใด แต่ก็เป็นที่ทราบกันอยู่ในยุคสมัยนั้นแล้วว่า พระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ โด่งดังทางโภคทรัพย์และเมตตามหานิยม

บทความพระเครื่อง  หรือ ข่าวพระเครื่อง  จาก  http://www.itti-patihan.com/พระสมเด็จ-วัดระฆังโฆสิตาราม.html